วันอาทิตย์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2551

  • การเดินสายภายในอาคาร
    การเดินสายไฟฟ้าภายในอาคารต้องเดินให้ถูกต้องสวยงาม และได้มาตรฐานการไฟฟ้านครหลวง และการไฟฟ้าภูมิภาคตามที่กำหนด เพื่อความปลอดภัยในการปฏิบัติการเดินสายและติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้า ควรยึดหลักดังนี้
    - ความปลอดภัย ต้องใช้ขนาดของสายที่ถูกต้องตามมาตรฐานของการไฟฟ้าฯ รวมทั้งอุปกรณ์ที่ใช้ในการเดินสาย การใช้ฟิวส์ และสวิตซ์ตัดตอนให้ถูกต้องและเหมาะสม
    - การประหยัด ต้องกำหนดระยะการเดินสายและตำแหน่งอุปกรณ์ของวงจรได้ถูกต้อง ไม่เดินสายอ้อมไปมา ซึ่งทำให้เปลืองสาย สามารถทำงานได้รวดเร็ว
    - ความสวยงาม ต้องวางตำแหน่งของสายได้เรียบร้อยไม่เกะกะหรือรุงรัง ตลอดจนถึงการวางตำแหน่งเพื่อติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าได้อย่างเหมาะสม
    - ความเหมาะสมกับตำแหน่งของอุปกรณ์ที่จะติดตั้ง เป็นไปตามความประสงค์ของเจ้าของงานและเป็นไปตามกฎของการไฟฟ้าฯ
    - รู้จักวางแผนการใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าในอนาคต ซึ่งอาจจะมีการติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติมจึงต้องคำนวณกระแสไฟฟ้าของสายเมนให้มีขนาดใหญ่กว่าที่คำนวณได้
    - สำรวจให้ละเอียดตั้งแต่จุดที่ต่อไฟเข้าอาคาร ซึ่งเริ่มจากจุดที่ต่อจากสายไฟฟ้านครหลวง หรือ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเข้าอาคารนั้น ๆ
    - สำรวจเครื่องใช้อุปกรณ์ ตามจำนวนห้องหรือตำแหน่งที่ต้องเดินสายเข้าไปและตลอดการวางตำแหน่งเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีอยู่ภายในบ้าน เช่น ตู้เย็น เตารีด วิทยุ โทรทัศน์ ฯลฯ
    - เขียนแผนผังการเดินสายไฟฟ้าอย่างละเอียดเพื่อประกอบการเดินสาย รวมทั้งคำนวณขนาดสายไฟฟ้า ระยะความยาวของสายที่ใช้เดินสายจุดต่าง ๆ จำนวนสายไฟฟ้า และประมาณราคาสิ่งของอุปกรณ์ทุกอย่างที่ติดตั้ง
  • การเดินสายแบ่งออกได้ 2 วิธีคือ การเดินสายแบบเปิด การเดินสายแบบปิด

    - การเดินสายแบบเปิด
    หมายถึง การเดินสายไฟโดยใช้ตุ้ม พุกประกับ เข็มขัดรัดสาย ไปยังอุปกรณ์ต่าง ๆ โดยทั่วไปจะยึดสายไฟฟ้าเข้ากับฝาหรือผนังของอาคารด้วยเข็มขัดรัดสายทุกระยะ 10 – 12 ซม. สายที่ใช้เป็นสายหุ้มยางหรือหุ้มโพลีไวนีลคลอไรด์ (พีวีซี) มีทั้งสายคู่ และสายเดี่ยว การเดินสายด้วยเข็มขัดรัดสายใช้เฉพาะการเดินภายในอาคาร ส่วนภายนอกอาคารจะถูกแดดและฝนไม่ควรใช้ การเดินสายด้วยวิธีนี้นิยมใช้ในประเทศไทยมาก เพราะทำง่ายและราคาถูก ขนาดของสายและชนิดของสายที่ใช้ จะเป็นไปตามข้อบังคับของการไฟฟ้าภูมิภาคหรือการไฟฟ้านครหลวง ฉะนั้น อาคารบ้านเรือนส่วนมากจะใช้การเดินสายแบบเปิด ด้วยเข็มขัดรัดสายเพราะประหยัดสาย ประหยัดค่าแรงงาน สะดวกต่อการแก้ไขหากวงจรขัดข้อง

- สายไฟฟ้าที่ใช้ในการเดินสาย

สายไฟที่ใช้เป็นชนิด VAF พีวีซี คู่ เส้นลวดตัวนำทำด้วยทองแดง มีฉนวนหุ้ม พีวีซี 2 ชั้น เดินเกาะไปตามผนัง มีอายุการใช้งานประมาณ 10 – 15 ปี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมรอบ ๆ สายไฟด้วย ใช้เดินสายสำหรับงานติดตั้งได้ทั้งพื้นที่แห้งและเปียก ทนอุณหภูมิ 700C ใช้กับแรงดัน 300 โวลต์

  • เข็มขัดรัดสาย

เข็มขัดรัดสายไฟ ทำด้วย แผ่นอลูมิเนียมบาง ๆ มีขนาดตั้งแต่เบอร์ ¾ - 6 ซึ่งเป็นเบอร์ที่ใช้กัน ทั่วไป เข็มขัดรัดสายไฟมีอยู่ 2 ด้าน ด้านที่หนึ่งมันเรียบ ส่วนอีกด้านหนึ่งมีรอยคมเล็กน้อยไว้จับสายไฟไม่ให้เลื่อนไปมา ในการรัดสายไฟ เข็มขัด 1 ตัว ควรรัดสายไม่เกิน 3 เส้น ถ้ามากกว่านี้จะเดินยากและสายไฟฟ้าจะคดไม่สวย ในกรณืเลือกเข็มขัดรัดสายไฟจะต้องมีขนาดเหมาะสมกับความโตของสาย
ปกติเข็มขัดรัดสายไฟแล้วต้องเหลือปลายไว้สำหรับพันยาวพอสมควร และจะต้องยาวพอที่จะรัดสานไฟในขณะเลี้ยวโค้งได้ เพราะเมื่อเลี้ยงโค้งขนาดของสายไฟจะใหญ่ขึ้นเล็กน้อยถ้าเลือกเข็มขัดสั้นเกินไปจะทำให้รัดสายยาก ดังนั้น ขนาดความยาวของเข็มขัดรัดสายไฟควรยาวกว่าความโตของสายไฟประมาณ ½ เซนติเมตร และรอยพับควรจะอยู่ตรงกลางของสายไฟด้วย

รูปแสดงขนาดของเข็มขัดรัดสาย

  • การเดินสายด้วยเข็มขัดรัดสายไฟ

ระยะเข็มขัดรัดสายไฟจะมีระยะห่างประมาณ 10 – 12 เซนติเมตร ไม่ควรสั้นหรือยาวกว่านี้อีก ถ้าเลือกเข็มขัดสั้นเกินไปจะทำให้รัดสายยาก ดังนั้น ขนาดความยาวของเข็มขัดรัดสายไฟควรยาวกว่าความโตของสายไฟประมาณ ½ เซนติเมตร และรอยพับควรจะอยู่ตรงกลางของสายไฟด้วย ระยะเข็มขัดรัดสายไฟจะมีระยะห่างประมาณ 10 – 12 เซนติเมตร ไม่ควรสั้นหรือยาวกว่านี้ ถ้าสั้นกว่าดูแล้วไม่สวยงามและถ้ายาวกว่านี้จะทำให้สายไฟไม่แนบกับผนัง การตีเข็มขัดรัดสายไฟในบ้านหลังเดียวกันควรมีระยะเข็มขัดรัดสายที่เท่ากัน ซึ่งระยะที่สวยที่สุด คือ 10 เซนติเมตร

ูปแสดงการเดินสายด้วยเข็มขัดรัดสาย

  • การเดินสายหักมุม

บ้านทุกหลังจะต้องมีห้องเป็นลักษณะสี่เหลี่ยม ดังนั้น การเดินสายไฟจำเป็นต้องหักมุมตามมุมของบ้าน ลักษณะของการหักมุมของสายไฟเรียกว่า โค้งมุมฉาก คือเราไม่สามารถหักมุมสายไฟเป็นมุมฉาก 90 องศา ได้ เพราะจะทำให้ลวดทองแดงของสายไฟนั้นหักได้ เพราะฉะนั้น จะต้องโค้งสายประมาณ 2.5 เซนติเมตร ถ้าเดิน สายไฟหลายเส้น เข็มขัดรัดสายที่ติดกับโค้งที่รัดสายเส้นล่างสุดจะห่างโค้งประมาณ 2.5 เซนติเมตร จำเป็นต้องเดินสายจากบนลงล่าง และซ้ายไปขวา เมื่อสังเกตดูจะเห็นได้ว่าเดินสายจากล่างขึ้นบน จะต้องจับสายไฟนั้นตลอดเวลา แต่ถ้าเดินสายไฟจนบนลงล่างจะไม่ต้องจับสายนั้นไว้สายจะห้อยปลายลงมา และรีดสายได้ง่ายทำงานได้รวดเร็วมาก

รูปแสดงการเดินสายหักมุม

  • การรีดสายไฟ

เมื่อคลี่สายไฟออกมาจากขดแล้วมันจะงอเพียงเล็กน้อยถ้าเราเดินสายไฟเพียงระยะ 2 – 3 เมตร ก็ไม่ต้องรีดมากแต่โดยทั่วไปการเดินสายไฟ 1 จุด จะใช้สายไฟประมาณ 6 เมตร จนถึง 10 เมตร บางครั้งจะต้องร้อยสายข้ามไปต่อวงจรหรืออื่นทำให้สายไฟบิดงอ เราจึงต้องรีดสายให้ตรงก่อนใส่เข็มขัดรัดสาย วิธีรัดสายไฟ หลังจากตอกเข็มขัดเรียบร้อยแล้ว ใช้ผ้าพื้นขนาดใกล้เคียงกับผ้าเช็ดหน้าชุบน้ำแล้วบีบให้หมาด เมื่อสายตรงแล้วทาบสายบน เข็มขัดรัดสายตัวแรกและรัดสายประมาณ 2 – 3 ตัวก่อน จากนั้น ใช้มือข้างหนึ่งกดหัวเข็มที่รัดสายตัวแรกให้แน่น ใช้มืออีกด้านหนึ่งรีดสายไฟประมาณ 50 – 70 เซนติเมตร แล้วใส่เข็มขัดตัวต่อไป ทำอย่างนี้จนสายไฟจะหมด ในกรณีที่เดินครั้งละหลาย ๆ เส้น จะต้องรีดสายทีละเส้น ถ้ารีดสายไฟหลายเส้นพร้อมกันสายไฟจะไม่เรียบ

  • การเดินสายแบบปิด
    คือการเดินสายที่ซ่อนสายมิดชิดไม่เห็นสาย ใช้สำหรับเดินสายไฟฟ้าบนเพดานสำหรับอาคารไม้หรือตึก และเดินในท่อโลหะสำหรับโรงงานอุตสาหกรรม การเดินสายไฟโดยใช้วิธีร้อยสายไฟใส่ในท่อฝังในอาคารเพื่อความสะดวกและความสวยงามของสถานที่ ท่อที่นำมาใช้มีหลายชนิด ได้แก่ ท่อโลหะหนา (rigid steel conduit) ท่อโลหะบาง (electrical metalic tube) และท่อโลหะอ่อน (flexible metal conduit)
    การเดินสายไฟฟ้าในท่อโลหะทุกหัวต่อต้องใช้กล่องต่อสาย สวิตซ์หรือเต้าเสียบต้องใช้แบบมีฝาปิดอย่างดีที่สุด เพื่อป้องกันประกายไฟฟ้า



  • าคผนวก.
    3. มาตรฐานการติดตั้งและการเดินสายไฟฟ้าในอาคารแบบเปิด
    การเดินสายไฟฟ้าแบบเปิดจะต้องเดินเข็มขัดรัดสายให้ตรง ถูกต้องสวยงามและได้มาตรฐานตามที่กำหนด เพื่อความปลอดภัยให้ใช้มาตรฐานของสายไฟฟ้าเดินในอาคาร ดังนี้
    3.1 สายขนาด 2 x 1.5 ต.มม. ใช้เดินสายอุปกรณ์ไฟฟ้า
    3.2 สายขนาด 2 x 2.5 ต.มม. ใช้เดินสายเต้ารับและใช้เป็นสายเมนภายในอาคาร
    3.3 สายขนาด 2 x 2.5 ต.มม. และ 2 x 6 ต.มม. ใช้เป็นสายเมนภายในจากแผงควบคุมเข้ไปยังจุดรับไฟเข้า และใช้เป็นสายเมนจากแผงควบคุมไปยังจุดต่อสายจุดแรง ซึ่งขนาดกระแสที่ใช้งานจะต้องไม่เกินกว่าที่ขนาดพิกัดกระแสของสายไฟจะทนได้
    3.4 ระยะห่างของเข็มขัดรัดสาย ในการเดินสายใช้ระยะห่างเข็มขัดรัดสายระหว่าง 10 – 12 ซม.
    3.5 รหัสสีของสายไฟ 2 แกน สีดำเป็นสายเฟส (L) สีเทาหรือสีขาวเป็นสายศูนย์หรือนิวตรอล (N)
    3.6 การติดตั้งหลอดไฟ การติดตั้งหลอดไฟฟ้าในห้องนอน ห้องนั่งเล่น ห้องครัว ห้องน้ำ ติดตั้งได้บนเพดานและผนังบริเวณที่ฝนสาดไม่ถึง
    3.7 การติดตั้งหลอดไฟนอกอาคารจะต้องเป็นหลอดไฟชนิดกันน้ำได้
    3.8 การติดตั้งเต้ารับติดระยะทางตรง 12 ฟุต/จุด และมุมห้องระยะ 6 ฟุต/จุด ไม่ควรติดตั้งเต้ารับใน ห้องน้ำ
    3.9 อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้เช่นดวงโคม บัลลาสต์ สตาร์ทเตอร์ สวิตซ์เต้ารับ และสายไฟฟ้าชนิดตัวนำทองแดงหุ้มฉนวนโพลีไวนีคอลไรด์ หรือพีวีซี ให้ใช้ผลิตภัณฑ์ซึ่งกระทรวงอุตสาหกรรมรับรองคุณภาพ
    3.10 เต้ารับ สวิตซ์และแผงสวิตซ์ให้ติดตั้งในตำแหน่งที่ปลอดภัย เช่น สูงพ้นมือเด็ก หรือห่างจากสถานที่ที่อาจเกิดอันตรายหรือน้ำท่วมถึงได้
    3.11 สายเมนต้นทางต้องมีขนาดไม่เล็กกว่า 4 ตารางมิลลิเมตร เมื่ออุปกรณ์ไฟฟ้าที่ติดตั้งไว้รวมกันแล้วไม่เกิน 14 แอมป์ หากเกินกว่า 14 แอมป์ สายไฟฟ้าที่ใช้ต้องมีขนาดใหญ่ขึ้น โดยสอบถามได้จากการไฟฟ้าฯ ในท้องถิ่น
    3.12 สายไฟฟ้าที่เดินไปยังเต้ารับที่ใช้กระแสไฟฟ้าไม่เกิน 8 แอมป์ ต้องมีขนาดไม่เล็กกว่า 1.5 ตารางมิลลิเมตร หากเต้ารับใช้กระแสไฟฟ้าเกินกว่า 8 แอมป์ สายไฟฟ้าที่จะใช้จะต้องมีขนาดใหญ่ขึ้น
    3.13 สายไฟฟ้าที่ใช้เดินไปยังดวงโคมสวิตซ์ต้องมี่ขนาดไม่เล็กกว่า 0.5 ตารางมิลลิเมตร (สายไฟฟ้าขนาด 0.5 ตารางมิลลิเมตร ใช้เดินเข้าดวงโคมได้เพียง 1 จุด ทีมีหลอดไฟไม่เกิน 1 หลอด)
    3.14 การติดตั้งดวงโคมหรือเต้ารับหากรวมกันแล้วไม่เกิน 10 จุด โดยที่แต่ละจุดใช้กระแสไฟฟ้าไม่เกิน 8 แอมป์ ต้องแบ่งวงจรติดตั้งออกเป็นวงจรย่อยส่วนวงจรที่ใช้เต้ารับ ซึ่งใช้กระแสไฟฟ้าเกินกว่า 8 แอมป์ ต้องแยกเป็นวงจรย่อยออกต่างหากจากวงจรแสงสว่างด้วย และต้องไม่เกิน 10 จุดต่อวงจรเช่นเดียวกัน
    3.15 สายเมนของทุกวงจรย่อยต้องเดินมารวมกันที่แผงสวิตซ์แต่ละแผง ซึ่งติดตั้งไว้บริเวณที่สะดวกในการปฏิบัติงาน
    3.16 วงจรย่อยทุกวงจรต้องมีเครื่องตัดกระแสไฟฟ้าเพื่อป้องกันอันตราย ซึ่งอาจเกิดจากกระแสไฟฟ้าลัดวงจรหรือใช้ไฟฟ้าเกินขนาด เช่น สวิตซ์ตัดตอนพร้อมฟิวส์หรือสวิตซ์ตัดตอนอัตโนมัติที่เหมาะสม
    3.17 ฟิวส์ หรือสวิตซ์ตัดตอนอัตโนมัติที่ใช้ป้องกันวงจรใดวงจรหนึ่งต้องมีขนาดไม่เกินกระแสไฟฟ้าสูงสุดที่ยอมให้ใช้สำหรับสายขนาดเล็กที่สุดที่ต่อจากอุปกรณ์ป้องกันของวงจรนั้น

ไม่มีความคิดเห็น:

Google
Google
>