วันเสาร์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2551

สตาร์ทเตอร์

หลอดฟลูออเรสเซนต์ ใช้สตาร์ทเตอร์ ช่วยจุดหลอดไฟ ภาพล่างเป็นรูปวงจรไฟฟ้าของหลอด

เมื่อกดสวิทซ์ไฟ กระแสไฟฟ้าจะไหลผ่านสวิทซ์สตาร์ทเตอร์ ครบวงจร ทำให้ไส้หลอดตรงขั้วหลอดร้อนขึ้น และปลดปล่อยอิเล็กตรอนออกมาในหลอด

สวิทซ์สตาร์ทเตอร์ทำจากหลอดก๊าซขนาดเล็ก บรรจุด้วยก๊าซซีนอน เมื่อเรากดสวิทซ์ กระแสไฟฟ้ากระโดดข้ามช่องว่างในหลอดดังรูป

ขั้วไฟฟ้าข้างหนึ่งของสตาร์ทเตอร์ทำด้วยโลหะติดกัน 2 ชนิดเรียกว่า ไบเมทาลิค (Bimetallic) มันจะบิดตัว เมื่อกระแสไหลผ่านและเกิดความร้อน หลังจากที่หลอดฟลูออเรสเซนต์ติดแล้ว กระแสไฟฟ้าจะไม่ไหลผ่านสตาร์ทเตอร์อีก ทำให้โลหะไบเมทาลิคเย็นลง และแยกออกจากกัน

ภายในสตาร์ทเตอร์คือหลอดก๊าซ

ขณะที่สตาร์ทเตอร์ต่อวงจรไฟฟ้า พลังงานจากไส้หลอดจะทำให้ก๊าซเกิดการอิออไนซ์ กลายเป็นตัวนำไฟฟ้า พลังงานที่ทำให้ก๊าซแตกตัวต้องมากพอ นั่นหมายความว่า แรงดันไฟฟ้าต้องมาก จึงต้องอาศัยอุปกรณ์เพิ่มแรงดันไฟฟ้า ที่เรียกว่า บัลลาสต์

การต่อสตาร์ทเตอร์เข้าก้บบัลลาสต์

บัลลาสต์เพิ่มแรงดันไฟฟ้า เพียงพอที่จะทำให้ก๊าซแตกตัวเป็นอิออน เรียกว่าสถานะนี้ว่า พลาสม่า กระแสไฟฟ้าไหลผ่านได้

อิเล็กตรอนไหลออกจากไส้หลอด ผ่านพลาสม่า จุดหลอดให้ติดขึ้น หลอดฟลูออเรสเซนต์ในยุคเริ่มต้น ต้องใช้เวลาระยะหนึ่งในการจุด แต่ปัจจุบัน เปิดปุ๊บ ติดปั๊ป ดังจะได้กล่าวในหน้าถัดไป

ไม่มีความคิดเห็น:

Google
Google
>